มนูญ สิวาภิรมย์รัตน์
มนูญ สิวาภิรมย์รัตน์ | |
---|---|
หัวหน้าพรรคเศรษฐกิจใหม่ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2562 – 19 ธันวาคม พ.ศ. 2562 | |
ดำรงตำแหน่ง 25 ธันวาคม พ.ศ. 2564 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 |
พรรคการเมือง | เศรษฐกิจใหม่ (2561–2566) |
มนูญ สิวาภิรมย์รัตน์ (เกิด 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2508) เป็นวิศวกรและนักการเมืองชาวไทย อดีตหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจใหม่ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ[1]
ประวัติ
[แก้]มนูญ เกิดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 เป็นพี่ชายของสุทัศน์ สิวาภิรมย์รัตน์ ซึ่งเคยถูกสมาชิกพรรค ร้องกกต. ขอให้ยุบพรรค ด้วยข้อกล่าวหาที่ว่าเป็นนายทุนพรรค เป็นคนนอก ที่เข้ามาครอบงำพรรค[2] สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้า) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาโท Master of Science (Engineering Management) และระดับปริญญาเอก Doctor of Philosophy (Engineering Management) จาก UNIVERSITY OF MISSOURI-ROLLA ประเทศสหรัฐอเมริกา[3]
หลังจบการศึกษาปริญญาเอก เข้าได้เข้าทำงานที่บริษัท Siemens ใน St. Louis และบริษัท Maritz Inc. เมือง Fenton, Missouri USA เป็นเวลาหลายปีก่อนจะเดินทางกลับประเทศไทย
การทำงาน
[แก้]มนูญ เป็นวิศวกรไฟฟ้า เป็นที่ปรึกษาบริษัทเอกชนทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศไทย ต่อมาเข้าสู่งานการเมืองโดยการเข้าร่วมงานกับมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ พรรคเศรษฐกิจใหม่ และลงสมัครรับเลือกตั้งใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 5 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก
เขาได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร
ต่อมมปี พ.ศ. 2562 มิ่งขวัญ ประกาศขอลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจใหม่ สืบเนื่องมาจากมิ่งขวัญและลูกพรรคมีอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน[4] เขาจึงได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ แต่ก็ดำรงตำแหน่งได้ไม่นาน กกต. ก็มีคำสั่งให้การประชุมเลือกหัวหน้าพรรคดังกล่าวเป็นโมฆะ[5] และเขาจึงได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่อีกครั้งเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2564
เขายังได้เป็นประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25[6]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]มนูญ สิวาภิรมย์รัตน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเศรษฐกิจใหม่
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[7]
- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2021-04-14.
- ↑ **"พรรคลุงมิ่ง" ดรามาเปิดศึกชิงหัวหน้าพรรค ระหว่าง "มนูญ สิวาภิรมย์รัตน์" กับ "เกียรติภูมิ สิริพันธุ์"
- ↑ คนตามข่าว : มนูญ สิวาภิรมย์รัตน์ หน.เศรษฐกิจใหม่-ว่าที่พรรคร่วมรัฐบาล
- ↑ "มิ่งขวัญ" ลาออกหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจใหม่
- ↑ แฉอักษร จ. กดดัน 'มิ่งขวัญ' - โชว์คำสั่ง กกต. ไม่รับรอง กก.บห. เศรษฐกิจใหม่
- ↑ เปิดชื่อ 35 ประธาน กมธ. “เสรีพิศุทธ์”นั่งปราบทุจริต
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2508
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- วิศวกรชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคเศรษฐกิจใหม่
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- นิสิตเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- หัวหน้าพรรคการเมืองในประเทศไทย